บทสัมภาษณ์
สวัสดีค่ะ ตอนนี้เราก็อยู่ที่สนามกีฬาที่บ้าน ของนินิวนะคะ
เรากำลังจะไปสัมภาษณ์อาจารย์ที่ฝึกสอนของเราขอเชิญอาจารย์แนะนำตัวคะ
ครูชื่อครูสา
เป็นครูสอนแอโรบิคมา12ปี
ประโยชน์จากการสอนแอโรบิค
1.ทำให้หัวใจแข็งแรง
2.แขนขาแข็งแรง
3.สภาพจิตดี ได้ยิ้มได้หัวเราะได้ฟังเสียงเพลง ได้ทีสังคม
เหตุผลที่อาจารย์มาสอนเต้นแอโรบิค
เพราะเป็นคนชอบออกกำลังกายอยู่แล้ว
เกิดจากเพื่อนมาชวนแล้วได้ลองเต้นแอโรบิค แล้วพอเต้นไปก็เลยติดว่าได้ออกกำลังกาย
แล้วได้ฟังเสียงเพลง แล้วเราก้มีลูกศิษย์เพิ่มขึ้นด้วย เราก็เลยทำมาเรื่อยๆ
สิ่งทีไ่ด้มาก็คือร่างกายแข็งแรง
ไม่เคยกินยาหาหมอ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้อาจารย์ฝากถึงเด็กสมัยใหม่ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายให้หันมาออกกำลังกายมากขึ้น
อาจารย์อยากให้ออกกำลังกายเพราะโรคภัยไข้เจ็บกันมากขึ้น แล้วเด็กสมัยนี้ไม่มีภูมิต้านทาน
การออกกำลังกายเหมือนได้ล้างสารพิษออกจากร่างกาย
เราไปสนามกีฬาลานออกกำลังกาย ถ้าหากเพื่อนๆคนไหนอยากออกกำลังก็เชิญมาเต้นอารบิคของพวกเราได้คะ
ความเกี่ยวกับการเต้นแอโรบิค
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ประวัติของแอโรบิค
ข้อความนี้ได้มาจาก
: papan.activeboard.com
aerobicdanceproject.wordpress.com
aerobicdanceproject.wordpress.com
ลิ้งได้มาจาก
ประวัติของแอโรบิก ประวัติความเป็นมาของแอโรบิก ประวัติแอโรบิกในประเทศไทย
ประวัติความเป็นมาของแอโรบิก
แอโรบิค เกิดขึ้นเมื่อ 26 ปี มาแล้ว โดย DR. Kenneth H.Cooper ได้เขียนเป็นตำราเรื่อง AEROBICS กล่าวไว้ว่า แอโรบิคเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่งชื่อว่า AEROBICS EXERCISE หมายถึง การออกกำลังกายที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สัมพันธ์กันระหว่างระบบไหลเวียนโลหิตกับปอดใช้ออกซิเจนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดการเผาผลาญพลังงานอย่างเต็มที่ กระตุ้นให้ร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคต่างๆได้ ดังนั้นการเต้นแอโรบิค (AREOBIC DANCING) จึงนับเป็นการออกกำลังกายประเภทแอโรบิคอีกชนิดหนึ่ง
เบื้องหลังความสำเร็จของการเต้นแอโรบิคได้รับการกล่าวถึงเป็นหนังสือ ชื่อ Aerobic Dancing โดย Jacki Sorensen ว่า กีฬาเต้นแอโรบิค ได้รับความนิยมสูงสุดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดให้มีการเต้นแอโรบิคภายในสตูดิโอหรือ โรงยิมโดยรับเอาต้นแบบการเต้นแอโรบิคประกอบ ดนตรีแบบอาหรับ จากนั้นกีฬาการเต้นแอโรบิคปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเข้ากับจังหวะดนตรี ในปัจจุบันด้วยวิธีนับจังหวะบีทเพลงจึงทำให้การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิคทันสมัยและสนุกสนานอยู่เสมอ
ประสิทธิภาพจากการเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ทั่วโลกเกี่ยวกับทางด้านพัฒนาสุขภาพเกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อ,หัวใจ, ปอด เทียบเท่ากับการเล่นกีฬาวิ่งจ๊อกกิง, ว่ายน้ำ, หรือการเดินขึ้นบันได จึงไม่น่าแปลกเมื่อกีฬาเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทย ความแรงของกีฬาเต้นแอโรบิคได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลกนี่เองทำให้การเต้นแอโรบิคไม่มีท่าเฉพาะที่แน่นอน แต่หลักมาตราฐานสากล นั้นกำหนดให้ท่าเต้นต้อง นับให้เข้ากับจังหวะบีทเพลงหรือตัวโน้ตดนตรี ส่วนกีฬาเต้นแอโรบิคที่ประเทศไทย นั้นเลือกใช้ท่าเต้นที่นับตามจังหวะ 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 เท่านั้นเพราะจะช่วยให้การเต้นแอโรบิคเป็นไปได้ง่ายกว่า
เคล็ดลับการเต้นแอโรบิค
เบื้องหลังความสำเร็จของการเต้นแอโรบิคได้รับการกล่าวถึงเป็นหนังสือ ชื่อ Aerobic Dancing โดย Jacki Sorensen ว่า กีฬาเต้นแอโรบิค ได้รับความนิยมสูงสุดที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดให้มีการเต้นแอโรบิคภายในสตูดิโอหรือ โรงยิมโดยรับเอาต้นแบบการเต้นแอโรบิคประกอบ ดนตรีแบบอาหรับ จากนั้นกีฬาการเต้นแอโรบิคปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยเข้ากับจังหวะดนตรี ในปัจจุบันด้วยวิธีนับจังหวะบีทเพลงจึงทำให้การออกกำลังกายแบบเต้นแอโรบิคทันสมัยและสนุกสนานอยู่เสมอ
ประสิทธิภาพจากการเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับทางการแพทย์ทั่วโลกเกี่ยวกับทางด้านพัฒนาสุขภาพเกี่ยวกับการพัฒนากล้ามเนื้อ,หัวใจ, ปอด เทียบเท่ากับการเล่นกีฬาวิ่งจ๊อกกิง, ว่ายน้ำ, หรือการเดินขึ้นบันได จึงไม่น่าแปลกเมื่อกีฬาเต้นแอโรบิคเป็นที่ยอมรับในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทย ความแรงของกีฬาเต้นแอโรบิคได้รับความนิยมไปทั่วทุกมุมโลกนี่เองทำให้การเต้นแอโรบิคไม่มีท่าเฉพาะที่แน่นอน แต่หลักมาตราฐานสากล นั้นกำหนดให้ท่าเต้นต้อง นับให้เข้ากับจังหวะบีทเพลงหรือตัวโน้ตดนตรี ส่วนกีฬาเต้นแอโรบิคที่ประเทศไทย นั้นเลือกใช้ท่าเต้นที่นับตามจังหวะ 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9 - 10 เท่านั้นเพราะจะช่วยให้การเต้นแอโรบิคเป็นไปได้ง่ายกว่า
เคล็ดลับการเต้นแอโรบิค
แอโรบิกดานซ์ในประเทศไทย
ประมาณปี พ.ศ. 2518 ประชาชนชาวไทยได้มีการตื่นตัวในการออกกำลังกายมากขึ้นทั้งนี้เพราะชาวไทยมีความเข้าใจในเรื่องของการศึกษามากขึ้น และเข้าใจถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายว่าสามารถลดโรคภัยไข้เจ็บได้ ในระหว่างปี พ. ศ. 2518 ได้มีกลุ่มนักธุรกิจเปิดสถานบริหารร่างกายขึ้น ซึ่งบริหารโดยคนไทย ซึ่งสืบสานและนำตัวอย่างมาจากสถานบริหารร่างกายโดยชาวอเมริกากันซึ่งเป็นนักธุรกิจมาทำงานในกรุงเทพ ฯ
ในระยะแรกวิธีการสอนการออกกำลังกายสำหรับประชาชนที่เข้าไปร่วมกิจกรรมนั้น เป็นวิธีการบริหารร่างหายดังกล่าว ได้มีวิทยากรชื่ออาจารย์สุกัญยา มุสิกวัน ได้เข้าไปเป็นวิทยากรและเล็งเห็นว่า กิจกรรมที่จัดให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมกิจกรรมบริหารร่างกายนั้นไม่เพียงพอกับการเสริมสร้างสมรรถภาพเท่าใดนัก
ในปี พ.ศ. 2519 อาจารย์สุกัญยา มุสิกวัน จึงได้จัดกิจกรรมชื่อว่า Slimnastic ซึ่งมาจากคำว่า Slim + Gymnastic ซึ่งเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายประกอบเพลง เป็นเครื่องมือในการออกกำลังกายสำหรับสมาชิก อันทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินมากขึ้น กิจกรรมดังกล่าว ได้เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายเบื้องต้นประกอบจังหวะดนตรีเป็นกิจกรรมบริหารร่างกายเพื่อลดสัดส่วนของร่างกาย ในปี พ.ศ. 2522 อาจารย์สุกัญยา มุสิกวัน (พานิชเจริญนาม) ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น และได้เดินทางกลับมา
ในปี พ.ศ. 2526 ได้เล็งเห็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวแบบ Slimnastic ควรเป็นไปในรูปแบบแอโรบิกดานซ์เหมือนสากล จึงได้เริ่มสอนและได้จัดอบรมให้ผู้ที่สนใจและลูกศิษย์ ให้นำไปเผยแพร่ทั่วประเทศ โดยจัดในรูปสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ สนามกีฬาแห่งชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 130 คน จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และนับจากปี 2526 เป็นต้น
มาจนถึงปัจจุบัน แอโรบิกดานซ์จึงเป็นกิจกรรมที่แพร่หลาย และมีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพลศึกษา ระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา และด้านเอกชน ก็เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปฝึกร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีความอดทนและได้มาซึ่งรูปร่างที่ดี การออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ ได้มีการพัฒนาและมีวิวัฒนาการเป็นการออกกำลังกายได้หลายรูปแบบ เช่น แอโรบิกดานซ์แบบแจซเซอร์ไซด์ แอโรบิกในน้ำ เสต็ปแอโรบิก เพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้น มีความสนุกสนานจากการออกกำลังกายและคงการออกกำลังกายให้นานที่สุด ที่สำคัญก็เพื่อประโยชน์จากการออกกำลังกายแบบแอโรบิกดานซ์ และเป็นการออกกำลังกายที่สนุกสนานและได้ประโยชน์มากที่สุดนั่นเอง
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
แอโรบิคด๊านซ์
แอโรบิคด๊าน (กายบริหารเพื่อสุภาพ)
เหตุผลในสิ่งที่ทำต้องการทำ
เป็นหัวข้อในด้านการออลักายเพื่อสุขภาพโดยการเต้นแอโรบิค ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีและไม่ส่งผลเสีย หรือ ผลกระทบต่อการเจ็บปวดร่างกายเป็นการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค ให้เกิดความรู้มากขึึ้น
วัตถุประสงค์ในการทำ
แอโรบิคด๊านซ์ ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่อาจจะยังไม่เข้าใจในการออกกำลังกายการเต้นแอโรบิคอย่างแท้จริง จึงได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของท่าเต้นต่างๆและประโยชน์เพื่อนำเสนอในทุกคนได้รู้และศึกษากันมากขึ้น
แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ต้องการทำ
การนำความรู้เกี่ยวกับแอโรบิด๊านซ์มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้คนที่รักสุขภาพได้มีทางออกกำลังกายที่หลากหลายและไม่น่าเบื่อ โดยการเต้นแอโรบิคเพราะการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคเป็นการเผลาพลานและได้รับความสนุกและสดชื่น มีแต่ประโยชน์ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ชื่อผู้แต่ง : นพ.ดร. ชิดพงษ์ ไชยวสุ และคณะ
ชื่อหนังสือ : แอโรบิคด๊าน กายบริหาร
ปีที่พิมพ์ : 2528
โรงพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์อักษรไทย
เหตุผลในสิ่งที่ทำต้องการทำ
เป็นหัวข้อในด้านการออลักายเพื่อสุขภาพโดยการเต้นแอโรบิค ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีและไม่ส่งผลเสีย หรือ ผลกระทบต่อการเจ็บปวดร่างกายเป็นการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค ให้เกิดความรู้มากขึึ้น
วัตถุประสงค์ในการทำ
แอโรบิคด๊านซ์ ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่อาจจะยังไม่เข้าใจในการออกกำลังกายการเต้นแอโรบิคอย่างแท้จริง จึงได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของท่าเต้นต่างๆและประโยชน์เพื่อนำเสนอในทุกคนได้รู้และศึกษากันมากขึ้น
แสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ต้องการทำ
การนำความรู้เกี่ยวกับแอโรบิด๊านซ์มาเผยแพร่เพื่อให้ผู้คนที่รักสุขภาพได้มีทางออกกำลังกายที่หลากหลายและไม่น่าเบื่อ โดยการเต้นแอโรบิคเพราะการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิคเป็นการเผลาพลานและได้รับความสนุกและสดชื่น มีแต่ประโยชน์ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง
ชื่อผู้แต่ง : นพ.ดร. ชิดพงษ์ ไชยวสุ และคณะ
ชื่อหนังสือ : แอโรบิคด๊าน กายบริหาร
ปีที่พิมพ์ : 2528
โรงพิมพ์ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์อักษรไทย
การเต้นแอโรบิค1
บทความนี้เขียนโดย
การเต้นแอโรบิค
ท่าเต้นแอโรบิคพื้นฐาน
1. การย่ำเท้า Marching คือ การย่ำเท้าอยู่กับที่ ส่วนใหญ่แล้วจะย่ำเท้า 2 แบบคือ แบบกว้าง ( Marching Out ) และแบบแคบ( Marching In )2. การเดิน ( Walking ) คือ การก้าวเท้าไปยังทิศทางที่เคลื่อนที่ไป มีการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหนึ่งไปยังอีกเท้าหนึ่ง การเดินนั้นสามารถเดินไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือเฉียง หรือเดินเป็นรูป3. ก้าวรูปสี่เหลี่ยม ( Easy Walk ) คือ การก้าวเดินไปข้าง 1 ก้าว ถอยหลัง 1 ก้าว ลักษณะคล้าย V-step แต่วางเท้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรืการก้าวเดิน4. การก้าวแตะ ( Step Touch สเต็ปทัช) คือ การยกเท้าหนึ่งไปด้านข้างแล้วยกเท้าอีกข้างหนึ่งไปแตะแล้วทำสลับกัน ทิศทางการเคลื่อนไหวจะเป็นการก้าวแตะที่อยู่กับที่ หรือทำเป็นรูปตัวแอล หรือก้าวแตะหมุนรอบตัวเองก็ได้5. ส้นเท้าแตะ ( Hell Touch ฮีลทัช) คือการแตะด้วยส้นเท้าข้างใดข้างหนึ่ง โดยแตะข้างหน้าหรือด้านหลังก็ได้6. ปลายเท้าแตะด้านข้าง ( Side Tap ไซด์แทบ) คือการแตะด้วยปลายเท้าข้างใดข้างหนึ่งโดยแตะด้านข้างหน้าซ้าย-ขวา สลับกัน7. การยกส้นเท้า ( Lek Curl เล็คเคอ) คือการยกส้นเท้าขึ้นไปที่สะโพกด้านหลัง หรือการพับส้นเท้าไปด้านหลัง การทำ Hamstring Curl หรือ Hamstring Curl Lek Curl นั้นทำได้ทั้งที่อยู่กับที่หรือหมุนรอบตัวเอง (แฮมสตริงเคอ)8. ก้าวไขว้ก้าวแตะ ( Grapevine เกรพวาย ) ก้าวไขว้ก้าวแตะ หรือเกรพวายคือการทำก้าวไขว้ขาไปหลังหรือหน้าก็ได้ การทำเกรพวายนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น เกรพวายธรรมดา หรือเกรพวายเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเกรพวายหมุน 180 องศา9. แมมโบ้ ( Membo ) คือการก้าวเท้าใดเท้าหนึ่งไปข้างหน้าแล้วย่อเข่าลงแล้วนำกลับสู่ที่เดิม และเปลี่ยนข้างทำ การทำแมมโบ้สามารถทำได้ทั้งข้างหน้าและด้านข้างก็ได้10. ยกเข่า ( Knee Up นีอัพ) เป็นท่าการเคลื่อนไหวพื้นฐานในการพัฒนากล้ามเนื้อขาหรือ Knee Lift ได้อย่างดีดังนั้นแอโรบิก ด๊านซ์ทุกประเภทจึงมีท่าการยกเข่าทั้งการยกเข่าด้านหน้า ( Front Knee Lift )หรือ นีลีฟ ด้านข้าง ( Side Knee Lift ) การยกเข่าเฉียง ( Knee Cross )11. การแตะขา ( Kick คิก ) การแตะขา ไปใช้ในทิศทางต่าง ๆ ทั้งการแตะไปด้านหน้า ( foreward ) เฉียง ( cross ) หลัง ( backward )และข้าง( sideward ) การแตะขาที่ถูกต้องควาเป็นการแตะขาไม่ใช่การสะบัดเข่า12. ก้าวชิดก้าวแตะ ( Two Step ทูสเต็ป) คือการทำก้าวชิดก้าวแตะ หรือการทำก้าวแตะ 2 ครั้ง13. สควอท ( Squats ) คือการนั่งยอง ๆ หรือ ย่อ ยืด ควรนั่งให้มุมสะโพกและเท้าเป็นมุม 90 % เท่านั้น ไม่ควรนั่งให้สะโพกชิดส้นเท้าเพราะจะทำให้เอ็นหรือกระดูกอ่อนที่หัวเข่ายืดมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เข่าเจ็บ14. ช่า ช่า ช่า( Cha Cha Cha ) คือการก้าวใดเท้าหนึ่งไขว้ไปด้านหน้า ย่ำเท้าหลัง แล้วนำเท้ากลับที่ก้าวไปข้างหน้ากลับมา ย่ำ ย่ำ ย่ำ สลับเท้า15. ส่ายสะโพก ( Twis ) คือการส่ายสะโพกซ้าย – ขวา สลับกัน16. Step Knee คือการย่ำเท้า 1-2 ก้าวขึ้นบน 3 แล้วยกเข่าประโยชน์การเต้นแอโรบิค
การเต้นแอโรบิคอย่างเพียงพอและฝึกเป็นประจำสม่ำเสมอจะมีผลดีต่อร่างกายดังนี้
- ระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น สามารถเกร็งและคลายตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่สมดุลกัน และทำให้รูปร่างสวยงามสมส่วนขึ้น เพราะว่าไขมันที่มาห่อหุ้มร่างกายอยู่ได้ถูกนำไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงานนอกจากนั้นยังจะช่วยทำให้มีการสะสมสารต้นกำเนิดพลังงานและสารที่เกี่ยวข้องคือไกลโคลเจน เกลือแร่ ฯลฯ อีกด้วย
- ระบบกระดูก ทำให้ข้อต่อและระบบประสาทสั่งงาน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ระบบการไหลเวียนของโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น การสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น หลอดเลือดต่างๆ มีความยืดหยุ่นดีขึ้น สามารถช่วยเพิ่มปริมาณและคุณภาพของเม็ดเลือดแดง นอกจากนี้ยังจะช่วยทำให้ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาพปกติได้อีกด้วย
- ระบบการหายใจ ช่วยให้ทางเดินหายใจ ปอด และ กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น
- ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกาย ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วของขบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงานของร่างกาย ช่วยทำลายเซลเสื่อมสภาพต่าง ๆ เพื่อเร่งให้ร่างกายสร้างเซลใหม่ๆ ขึ้นมาแทนที่ นอกจากนี้ ยังช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานดีขึ้น นอนหลับสบาย เมื่อตื่นขึ้นจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า ทำงานได้อย่างกระฉับกระเฉง
- ระบบควบคุม ช่วยทำให้ร่างกายปรับสมดุลของระบบประสาทอัติโนมัติและระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนต่างๆ ออกมาอย่างเป็นปกติ
- การทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทสำหรับผู้ที่เคร่งเครียดกับการทำงานหนัก
- บุคลิค การเคลื่อนไหว และการจัดระเบียบร่างกาย ทำให้ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น ร่างกายโดยรวมมีความอ่อนตัว และเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วขึ้น ทำให้อารมณ์เบิกบานและจิตใจแจ่มใส มีสง่าราศี
- ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดฟีน ซึ่งก่อให้เกิดความสุข เพราะว่าขณะออกกำลังกาย อย่างมีความสุข ไร้การแข่งขัน จึงไม่มีความเครียด ซึ่งต่างกับการออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน การออกกำลังกายที่เน้นการแข่งขัน ร่างกายจะหลั่งสารคนละตัว มีชื่อว่า อดีนาลีน ซึ่งตัวนี้ จะก่อให้เกิดความเครียด ผลของการออกกำลังกายจะต่างกัน รูปร่างหน้าตาจะสดใสต่างกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)